นั่งร้าน หรือ นั่งร้านสำหรับงานก่อสร้าง มีอยู่ด้วยกันหลายประเภท อาทิ นั่งร้านไม้ไผ่ นั่งร้านเหล็กแบบญูี่ปุ่นหรือแบบเฟรม ที่ใช้ในวงการก่อสร้างและต่อเติมตกแต่ง และที่กำลังเป็นที่นิยมล่าสุด คือ นั่งร้านลิ่มล็อค หรือนั่งร้านตอกลิ่ม แต่วันนี้จะขอมาแลกเปลี่ยนข้อมูลของนั่งร้านแบบเฟรมกัน
นั่งร้านแบบเฟรม ที่โดยมากเราจะใช้งานกันเป็นชุด โดย 1 ชุด ประกอบด้วย 9 ชิ้นส่วน คือ ขาตั้งนั่งร้าน กากบาทนั่งร้าน ข้อต่อนั่งร้าน และฝาครอบนั่งร้าน ซึ่งหากย้อนไปเมื่อกว่า 10 ปี ที่แล้ว นั่งร้านประเภทนี้ บริษัทรับเหมาก่อสร้าง ระบุสเปคความหนาเหล็กไว้เลยที่ ไม่ต่ำกว่า 2.3 มม. ซึ่งเป็นมาตรฐานของประเทศญี่ปุ่น แต่ด้วยสภาพเศรษฐกิจและกลไกตลาดหลายๆอย่าง นั่งร้านก่อสร้าง หนา 2.3 มม. หาได้ยากมากแล้วในยุคปัจจุบัน
ผู้รับเหมาฯ ด้วยงบประมาณที่จำกัด และการหมุนเวียนใช้อุปกรณ์ก่อสร้าง เช่น นั่งร้าน แบบเหล็ก จึงต้องกาวิธีในการควบคุมต้นทุนให้มากที่สุด นั่งร้านจึงค่อยๆถูกปรับความหนาให้บางลงเรื่อยๆ จนปัจจุบัน บางสุดในตลาดอยู่ที่ 1.2 มม. แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ความปลอดภัยก็ต้องมาเป็นอันดับแรก วิศวกรผู้ควบคุมงาน ต้องสอบถามผลเทสรับน้ำหนักจากโรงงานผู้ผลิตทุกครั้ง และต้องมีรายการคำนวณของปริมาณงานนั่งร้านก่อนการติดตั้งจริงเสมอ
และอีกหนึ่งทางเลือกที่นิยมกัน คือ นั่งร้านมือสอง โดยปกติแล้วนั่งร้านเหล็กหากมีการซ่อมบำรุงอย่างต่อเนื่อง มีการทำสีให้ไม่เห็นเนื้อเหล็ก ยืดระยะเวลาการใช้งานไม่ให้เกิดสนิม จุดที่หักงอก็มีการดัด และเชื่อมให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน นั่งร้านมือสอง ก็ยังเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะยังมีนั่งร้านที่มีความหนา 2.0 มม. - 2.3 มม. ที่เป็นนั่งร้านมือสองอยู่ และลักษณะการใช้งานบางครั้งยังไม่ถูกเอามาใช้รับน้ำหนักพื้นคอนกรีต เพียงแต่ใช้ในการต่อเป็นนั่งร้านหอเลื่อน หรือนั่งร้านทาวเวอร์ ซึ่งสภาพนั่งร้านมือสองนี้ยังดีอยู่มาก
ดังนั้นการเลือกใช้นั่งร้านมือสอง หรือ นั่งร้านของใหม่ผลิตจากโรงงาน อยู่ที่งบประมาณและลักษณะการใช้งาน โดยผู้ใช้งานจริง และฝ่ายจัดซื้อต้องประสานงานการ เพื่อเลือกสิ่งที่เหมาะสมที่สุดและปลอดภัยที่สุด สำหรับผู้ที่ใช้งานจริง เช่น คนงานตามไซต์งาน ผู้อาศัยบริเวณรอบไซต์งานก่อสร้าง
Comments